วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2561

เทคโนโลยีเปลี่ยนธุรกิจขับเคลื่อนประเทศที่น่าจับตามองในปี 2017



Superfood’ ไม่ต้องฆ่าสัตว์กันอีกต่อไป เมื่อเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงในห้องแล็บได้แล้ว! (Cellular Agriculture)
     ดร. ณรงค์ และ สวทช. นิยามกระบวนการเพาะเลี้ยงเนื้อสัตว์จากห้องปฏิบัติการว่าเป็น ‘เนื้อสัตว์ไม่ต้องฆ่า’ โดยเปรียบกับการปลูกพืชแบบปักชำ หรือการตอนกิ่ง แตกต่างกันตรงที่ขั้นตอนและกระบวนการเท่านั้น ซึ่ง Cellular Agriculture จะเริ่มต้นด้วยการนำเนื้อเยื่อของสัตว์มาสกัดเป็นสเต็มเซลล์ แล้วเพาะเลี้ยงเสต็มเซลล์นั้นๆ ให้เป็นเส้นใยกล้ามเนื้อในห้องปฏิบัติการ ก่อนผสมเส้นใยกับไขมัน แต่งสี และทำให้มีรูปร่างคล้ายเนื้อสัตว์
     โดยตอนนี้บริษัท Memphis Meats สามารถสร้างเนื้อสัตว์จากกระบวนการนี้ได้แล้ว แต่ปัญหาคือต้นทุนในการผลิตยังมีราคาที่สูงอยู่ โดยราคาเริ่มต้นของเนื้อวัว 450 กรัมอยู่ที่ 2,400 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 79,416 บาท แต่ภายใน 4 ปีข้างหน้า เชื่อกันว่าต้นทุนในการผลิตของมันจะถูกลงและจับต้องได้มากขึ้นอย่างแน่นอน
ทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากสเต็มเซลล์ไม่เพียงแต่จะช่วยลดการทำปศุสัตว์และลดปริมาณการคร่าชีวิตสัตว์เท่านั้น แต่ยังช่วยลดการแพร่กระจายโรคติดต่อจากสัตว์สู่มนุษย์ให้น้อยลง ทั้งยังช่วยให้ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมกลับมาสมบูรณ์มากขึ้นอีกด้วย
     ปัจจุบันสถาบันการศึกษาในประเทศไทยมีการเปิดหลักสูตรที่ทำการศึกษาและวิจัยเรื่องนี้อย่างจริงจัง เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่มีสาขาวิศวกรรมเนื้อเยื่อแล้ว10 เทคโนโลยีเปลี่ยนธุรกิจขับเคลื่อนประเทศที่น่าจับตามองในปี 2017

พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์2560